เครื่องใช้ในครัวเรือน

เลือกเครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างไรให้คุ้มค่า

 

ลองมาดู 5 ปัจจัยสำคัญในการเลือกเครื่องใช้ไฟฟ้าให้เหมาะกับบ้านหรือคอนโดมิเนียมของคุณ ซึ่งนอกจากรสนิยมแล้ว ยังต้องคิดวิเคราะห์ถึงปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ด้วย

  1. ราคาของเครื่องใช้ไฟฟ้า

ถือเป็นปัจจัยอันดับต้น ๆ ที่คนส่วนใหญ่ใช้เลือกเครื่องใช้ไฟฟ้า แน่นอนว่าใคร ๆ ก็อยากได้ของที่มีราคาไม่แพง แต่อย่าลืมว่าราคาไม่ได้เป็นตัวการันตีว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าเหล่านั้นจะมีคุณภาพหรือประหยัดไฟได้มากกว่า สิ่งที่ควรทำ คือ การพิจารณาราคาควบคู่ไปกับคุณภาพ เปรียบเทียบหลาย ๆ ยี่ห้อ และเลือกยี่ห้อที่ราคาถูกกว่าแต่คุณภาพพอ ๆ กัน

  1. คุณภาพเป็นอันดับหนึ่ง

คุณภาพเป็นสิ่งที่ควรมาเป็นอันดับหนึ่ง ซึ่งคุณภาพดีก็หมายถึงความปลอดภัย และอายุการใช้งานที่ยาวนาน แต่แบบไหนถึงคุณภาพดี วิธีนี้อาจเลือกได้ง่าย ๆ จากแบรนด์ชั้นนำเป็นอันดับแรก การเลือกแบรนด์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีชื่อเสียงและคนรู้จักแพร่หลายจึงเป็นเรื่องง่ายที่จะเชื่อมั่นในคุณภาพได้

นอกจากนี้ยังสามารถตรวจสอบคุณภาพของเครื่องใช้ไฟฟ้าเบื้องต้นด้วยสายตาก่อนได้ เช่น มีตำหนิตรงไหนหรือไม่ มีส่วนไหนชำรุดหรือไม่ รวมทั้งมีการออกแบบที่ดี ได้มาตรฐานที่ดีไหมและมีการรับรองคุณภาพจากสถาบันต่าง ๆ เช่น มอก. เพื่อที่จะได้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ดีที่สุดและมีความปลอดภัย

สัญลักษณ์ มอก. คืออะไร

เครื่องหมายมาตรฐานสำหรับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือ มอก. คือ เครื่องหมายรับรองถึงคุณภาพของผลิตภัณฑ์สินค้าว่าเป็นไปตามมาตรฐาน และมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค ซึ่งออกโดยสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือ สมอ. ปัจจุบัน มอก. สินค้าที่ สมอ. ดำเนินการและอนุญาตให้ผู้ประกอบการแสดงเครื่องหมายมาตรฐานบนสินค้า มีด้วยกัน 2 แบบ คือ

– เครื่องหมายมาตรฐานทั่วไป อยู่บนสินค้าทั่วไป รวมถึงสินค้าอุปโภคบริโภค โดยเครื่องหมายนี้ผู้ประกอบการสามารถยื่นขอรับรองคุณภาพสินค้าของตนเองได้ด้วยความสมัครใจ เพื่อพัฒนาสินค้าให้เป็นไปตามมาตรฐาน โดยสินค้ากลุ่มนี้จะสามารถนำเข้าจากต่างประเทศโดยยังไม่มีการตรวจสอบคุณภาพ หรือไม่มี มอก. นั่นเอง อาทิ กระเบื้องซีเมนต์เส้นใยแผ่นลอน ปูนยิปซัมผสม และแผ่นหลังคาเมทัลชีต

– เครื่องหมายมาตรฐานบังคับ ซึ่งจะอยู่บนสินค้าที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน อาทิ เครื่องใช้ไฟฟ้าและวัสดุก่อสร้าง ยางรถยนต์ ของเล่น และหมวกกันน็อก

ตรวจสอบ มอก. ได้อย่างไร

สินค้าหรือผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ผ่านการตรวจสอบคุณภาพสินค้าที่ได้มาตรฐาน มอก. หรือไม่ สามารถสังเกตจากเครื่องหมาย มอก. ที่แสดงอยู่ที่ผลิตภัณฑ์หรือสินค้านั้น ๆ ทั้งเครื่องหมายมาตรฐานทั่วไป หรือเครื่องหมายมาตรฐานบังคับ

โดยผู้บริโภคควรตรวจสอบเลขที่ มอก. ที่แสดงอยู่ใต้เครื่องหมาย มอก. ว่าตรงกับชื่อผลิตภัณฑ์หรือไม่ ตัวอย่างเช่น เลขที่ มอก. 2214-2548 ตู้เย็นสำหรับใช้ในที่อยู่อาศัย ขณะเดียวกันยังสามารถตรวจสอบเลขที่ มอก. และชื่อผลิตภัณฑ์ที่ถูกต้องได้จากเว็บไซต์สมอ.https://www.tisi.go.th หรือ สแกน QR Code บนหน้าฉลาก มอก.

 

  1. จำนวนวัตต์

ปกติจำนวนวัตต์ของเครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละชนิดจะมีบอกไว้บนตัวสินค้าอยู่แล้วซึ่งจะช่วยให้ผู้บริโภคสามารถคำนวณค่าไฟฟ้าที่เกิดขึ้นภายหลังจากการใช้งานได้

วัตต์คืออะไร

วัตต์หรือแรงเทียนคือพลังไฟฟ้าหรือกำลังไฟฟ้า อุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีวัตต์มากก็กินไฟมากกว่าที่มีวัตต์น้อย (ในเวลาเท่ากัน)

เครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละประเภทใช้กี่วัตต์

โดยเครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละประเภทมีจำนวนวัตต์แตกต่างกัน ดังนี้

– พัดลมตั้งพื้น 45-75 วัตต์

– ตู้เย็น 2-12 คิว (ลบ.ฟุต) 53-194 วัตต์

– เครื่องปรับอากาศ 680-3,300 วัตต์

– หม้อหุงข้าวไฟฟ้า 500-1,000 วัตต์

– เครื่องดูดฝุ่น 625-1,000 วัตต์

– เครื่องทำน้ำร้อนในห้องน้ำ 900-4,800 วัตต์

– โทรทัศน์ 43-95 วัตต์

– เครื่องซักผ้า 250-2,000 วัตต์

– เครื่องอบผ้าแห้ง 650-2,500 วัตต์

– เครื่องซักผ้าแบบมีเครื่องอบผ้า หรือเครื่องตั้งอุณหภูมิของน้ำ 250-2,000 วัตต์

หมายเหตุ: ขอบคุณข้อมูลจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค    : https://www.pea.co.th

 

เครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละประเภทเสียค่าไฟเท่าไหร่

อุปกรณ์ไฟฟ้าแต่ละชิ้น เมื่อเปิดใช้งาน 1 ชั่วโมง จะเสียค่าไฟเท่าไหร่ ดูได้ที่นี่

– เครื่องดูดฝุ่น ขนาด 1,400-2,000 วัตต์ ค่าไฟ 6-8 บาท/ชั่วโมง

– เตารีดไฟฟ้า 1,000-2,800 วัตต์ ค่าไฟ 3.5-10 บาท/ชั่วโมง

– เครื่องเป่าผม ขนาด 1,600-2,300 วัตต์ ค่าไฟ 6-9 บาท/ชั่วโมง

– เครื่องทำน้ำอุ่น ขนาด 3,500-6,000 วัตต์ ค่าไฟ 13.5 -23.5 บาท/ชั่วโมง

– เครื่องซักผ้า ฝาบน-ฝาหน้า ขนาด 10 กิโลกรัม ค่าไฟ 2-8 บาท/ชั่วโมง

– เครื่องปรับอากาศติดผนัง แบบ Fixed speed ขนาด 9,000-22,000 บีทียู/ชั่วโมง ค่าไฟ 2.5-6 บาท/ชั่วโมง

– พัดลมตั้งพื้น ขนาดใบพัด 12-18 นิ้ว ค่าไฟ 0.15-0.25 บาท/ชั่วโมง

– โทรทัศน์ LED backlight TV ขนาด 43-65 นิ้ว ค่าไฟ 0.40-1 บาท/ชั่วโมง

– เตาไมโครเวฟ ขนาด 20-30 ลิตร ค่าไฟ 3-4 บาท/ชั่วโมง

– ตู้เย็น 2 ประตู ขนาด 5.5-12.2 คิวบิกฟุต ค่าไฟ 0.30-0.40 บาท/ชั่วโมง

– หม้อหุงข้าว ขนาด 1.0-1.8 ลิตร ค่าไฟ 3-6 บาท/ชั่วโมง

– เครื่องปิ้งขนมปัง ขนาด 760-900 วัตต์ ค่าไฟ 3-3.5 บาท/ชั่วโมง

– เตาแม่เหล็กไฟฟ้า 1-2 หัวเตา ขนาด 2,000-3,500 วัตต์ ค่าไฟ 8-14 บาท/ชั่วโมง

หมายเหตุ: คิดจากค่าไฟเฉลี่ยอัตรา 3.9 บาทต่อหน่วย ข้อมูลจากการไฟฟ้านครหลวง

 

  1. ชนิดและขนาดของเครื่องใช้ไฟฟ้า

เลือกเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีขนาดเหมาะสมกับพื้นที่ของบ้านหรือห้องของคุณ ก่อนตัดสินใจเลือกซื้ออย่าลืมวัดโต๊ะ ชั้นวางของ ที่จะใช้ตั้งอุปกรณ์ หรือวัดขนาดพื้นที่ที่ต้องการวาง เพื่อไม่ให้เกิดความยุ่งยากต้องซื้ออย่างอื่นเพิ่มในภายหลัง ยกตัวอย่างเช่น

วิธีเลือกบีทียู (btu) เครื่องปรับอากาศให้เหมาะกับขนาดห้อง

โดยรายละเอียดและปัจจัยต่าง ๆ ที่ควรพิจารณาเพิ่มเติมดังนี้

– ขนาดห้องของหน้าต่างและมุมต่าง ๆ ของห้อง

– ทิศทางของห้องนั้น ๆ ว่าโดนแดดมากน้อยเพียงใด

– วัสดุหลังคามีฉนวนกันความร้อนภายในบ้านหรือไม่

– จำนวนผู้อยู่อาศัยในห้องนั้น

สูตรการคำนวณ btu เครื่องปรับอากาศ

btu = พื้นที่ห้อง (กว้าง x ยาว) x ความแตกต่าง

ความแตกต่างแบ่งได้ 2 ประเภท คือ

600-700 = ห้องที่มีความร้อนน้อยใช้เฉพาะเวลากลางคืน

700-800 = ห้องที่มีความร้อนสูงและส่วนใหญ่ใช้ในเวลากลางวัน

ขนาด btu เครื่องปรับอากาศเบื้องต้น

– 9,000 btu ห้องปกติ ขนาด 12-15 ตารางเมตร ห้องโดนแด ขนาด 11-14 ตารางเมตร

– 12,000 btu ห้องปกติ ขนาด 16-20 ตารางเมตร ห้องโดนแด ขนาด 14-18 ตารางเมตร

– 18,000 btu ห้องปกติ ขนาด 24-30 ตารางเมตร ห้องโดนแดด ขนาด 21-27 ตารางเมตร

– 21,000 btu ห้องปกติ ขนาด 28-35 ตารางเมตร ห้องโดนแดด ขนาด 25-32 ตารางเมตร

– 24,000 btu ห้องปกติ ขนาด 32-40 ตารางเมตร ห้องโดนแดด ขนาด 28-36 ตารางเมตร

– 25,000 btu ห้องปกติ ขนาด 35-44 ตารางเมตร ห้องโดนแดด ขนาด 30-39 ตารางเมตร

– 30,000 btu ห้องปกติ ขนาด 40-50 ตารางเมตร ห้องโดนแดด ขนาด 35-45 ตารางเมตร

– 35,000 btu ห้องปกติ ขนาด 48-60 ตารางเมตร ห้องโดนแดด ขนาด 42-54 ตารางเมตร

– 48,000 btu ห้องปกติ ขนาด 64-80 ตารางเมตร ห้องโดนแดด ขนาด 56-72 ตารางเมตร

– 80,000 btu ห้องปกติ ขนาด 80-100 ตารางเมตร ห้องโดนแดด ขนาด 70-90 ตารางเมตร

วิธีเลือกขนาดโทรทัศน์ให้เหมาะกับห้อง

วิธีการวัดขนาดโทรทัศน์ คือ การวัดหน้าจอโทรทัศน์แบบเส้นทแยงมุม โดยวัดจากมุมหนึ่งของจอภาพด้านในเฉียงไปยังมุมตรงข้าม ซึ่งโทรทัศน์แต่ละขนาดมีระยะห่างที่เหมาะสมดังนี้

– ขนาดหน้าจอ 26 นิ้ว ระยะห่างที่เหมาะสมคือ 0.98 เมตร

– ขนาดหน้าจอ 32 นิ้ว ระยะห่างที่เหมาะสมคือ 1.25 เมตร

– ขนาดหน้าจอ 42 นิ้ว ระยะห่างที่เหมาะสมคือ 1.58 เมตร

– ขนาดหน้าจอ 47 นิ้ว ระยะห่างที่เหมาะสมคือ 1.76 เมตร

– ขนาดหน้าจอ 50 นิ้ว ระยะห่างที่เหมาะสมคือ 1.90 เมตร

– ขนาดหน้าจอ 55 นิ้ว ระยะห่างที่เหมาะสมคือ 2.06 เมตร

– ขนาดหน้าจอ 60 นิ้ว ระยะห่างที่เหมาะสมคือ 2.25 เมตร

– ขนาดหน้าจอ 70 นิ้ว ระยะห่างที่เหมาะสมคือ 2.63 เมตร

 

  1. การติดตั้งและการบำรุงรักษาหลังการซื้อ

หลังจากที่คำนวณทั้งราคา คุณภาพ จำนวนวัตต์ และความเหมาะสมระหว่างเครื่องใช้ไฟฟ้าที่จะซื้อกับบ้านหรือคอนโดมิเนียมของคุณแล้ว สิ่งสำคัญที่ไม่ควรละเลย คือ ค่าติดตั้งและค่าบำรุงรักษาที่จะต้องจ่ายในภายหลัง

กรณีที่เป็นอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่ที่มีขั้นตอนในการติดตั้งที่ยุ่งยาก พยายามเลือกซื้อจากร้านที่รับประกันว่าจะติดตั้งและขนส่งให้ถึงบ้าน ส่วนในเรื่องการบำรุงรักษา ลองสอบถามผู้เชี่ยวชาญ ผู้ที่เคยใช้และค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมว่าวัสดุของอุปกรณ์นั้นรักษายากไหม ชำรุดง่ายหรือไม่ และหากซ่อมแซมจะต้องมีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่

หมายเหตุ : ขอบคุณข้อมูลจาก : DDproperty Editorial Team

https://www.ddproperty.com/คู่มือซื้อขาย/5-ปัจจัยเลือกเครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างไรให้คุ้มค่า-27730

Wishlist 0
Continue Shopping